Skip to main content

รูปแบบการสื่อสารแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวสูงกับ Quantum communication


ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์และการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะในระดับนานาชาติจากกรณีการเข้าให้ปากคำของนาย Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ facebook ต่อวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาจากข่าวลือมีการนำข้อมูลผู้ใช้บริการเว็บไซต์ facebook ไปใช้ทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต [1] หรือจากกรณีข้อมูลบัตรประชาชนรั่วไหลจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอย่าง True ในประเทศไทย [2] ในปัจจุบันข้อมูลมากมายถูกส่งด้วยระบบอินเตอร์เน็ตถึงแม้จะมีการเข้ารหัสซับซ้อนด้วยสมการทางคณิตศาสตร์เพียงใดก็สามารถถูกถอดรหัสได้หากมีทรัพยากรที่เหมาะสม ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นระบบความปลอดภัยที่ปราศจากเงื่อนไขข้อจำกัดใดๆ (Unconditionally secure communication) ระบบดังกล่าวคือการสื่อสารทางควอนตั้ม (Quantum communication)

หลักการของ Quantum communication อยู่บนพื้นฐานทางฟิสิกส์ควอนตัม ซึ่งจะใช้สถานะทางควอนตัมของอนุภาคเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่นคุณสมบัติทางโพราไรซ์(Polarization)ของอนุภาคแสง(Photon) โดยข้อแตกต่างจากการสื่อสารบนระบบดิจิตอลที่ข้อมูลถูกส่งไปในรูปแบบของเลขฐานสอง(0 และ 1)ที่เรียกว่าบิต(Bit)นั้นจะถูกแทนที่ด้วยสถานะ Polarization ของ Photon ที่เรียกว่า Quantum bit หรือ Qubit (คิวบิต) ในระบบ Quantum communication ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสทางควอนตัม (Quantum cryptography) ด้วยวิธีการเข้ารหัสแบบ One-time-stamp ซึ่งเป็นการเข้ารหัสแบบซุ่ม โดยวิธีการนี้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้นที่จะเข้าถึงการถอดรหัสของข้อมูลชุดนั้นๆได้ รูปแบบการส่งสารนี้เรียกว่า Quantum key distribution (QKD) การที่จะลักลอบดักข้อมูลที่เข้ารหัสจากผู้รับสารจะเป็นการรบกวนเสถียรภาพของระบบทำให้ข้อมูลที่รับไปนั้นไม่ตรงกันกับต้นฉบับของผู้ส่งสารและไม่สามารถถูกถอดรหัสได้ ข้อมูลที่ไปถึงผู้รับสารก็จะมีความแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเช่นเดียวกัน [3] ดังนั้นแล้วการถูกดักฟังข้อมูลจึงสามารถตรวจพบได้ทันที

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังคงห่างไกลจากการนำไปใช้จริง เนื่องมาจากข้อจำกัดของสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลของ Quantum communication นั้นซึ่งก็คือคุณสมบัติทางควอนตัมของแสงหรือ Photon ที่สามารถเดินทางผ่านตัวกลางจากผู้ส่งสารและผู้รับสารได้เพียงสิบกว่ากิโลเมตรก่อนที่ความเข้มของสัญญาณจะถูกรบกวนจนไม่สามารถตรวจจับได้ [4] ตรงข้ามกับการสื่อสารด้วยแสงผ่านทาง Fiber optic ที่ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางมาเป็นระยะเวลากว่าสิบๆปีที่สามารถส่งข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลกว่าร้อยกิโลเมตร ทั้งนี้สัญญาณที่ส่งผ่านด้วยแสงผ่าน Fiber optic แบบดั้งเดิมนี้สามารถขยายสัญญาณได้ด้วยอุปกรณ์ขยายสัญญาณเมื่อสัญญาณอ่อนลงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่ส่งไป แต่เนื่องจากคุณสมบัติทางควอนตั้มที่กล่าวไปข้างต้นนั้นการขยายสัญญาณแบบทั่วไปไม่สามารถทำได้

ด้วยเหตุนี้ศึกษาและวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปในการแก้ไขปัญหาการสื่อสารระยะไกลของ Quantum communication หนึ่งในความพยายามที่ถูกพูดถึงอย่างมากในสังคมเมื่อปีที่ผ่านมา คือการใช้เทคนิค Quantum teleportation หรือการส่งผ่านทางไกลด้วยควอนตั้ม [5,6] ทั้งนี้เพราะชื่อของเทคนิคได้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางไกลในห่วงอวกาศของภาพยนต์ Sci-fi ต่างๆ แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้มีวัตถุใดๆถูกเคลื่อนย้ายไปเลย เนื่องด้วยคุณสมบัติทางควอนตั้มที่อยู่บนหลัก Conservative momentum ดังนั้นแล้วเมื่อเราวัดค่าสถานะของอนุภาคหนึ่งจะทำให้เรารู้ค่าของอีกอนุภาคที่มีความเกี่ยวพันกันทางควอนตัม(Quantum entanglement)ในทันทีเพราะโมเมนตั้มรวมของทั้งระบบยังคงเท่าเดิม ด้วยหลักการนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลทางควอนตัมจากพื้นโลกไปยังดาวเทียมบนวงโคจรของโลก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยและการศึกษาทางด้าน Quantum communication และเป็นอีกก้าวในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ในหลายๆด้าน ข้อท้าทายหลักคือการวางโครงสร้างระบบการสื่อสารที่สามารถครอบคลุมและรองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก

โดย เลิศ ชยานันท์

อ้างอิง
[1] https://www.washingtonpost.com/news/the-switch/wp/2018/04/10/transcript-of-mark-zuckerbergs-senate-hearing/?noredirect=on&utm_term=.284f58f780d1
[2] http://finance.theindependent.sg/data-leak-from-thailand-telco-reveals-passport-id-card-information/
[3] Massa, Francesco, et al. "Experimental two-way communication with one photon." arXiv preprint arXiv:1802.05102 (2018).
[4] Diamanti, Eleni. "Applied physics: Quantum signals could soon span the globe." Nature 549.7670 (2017): 41.
[5] Liao, Sheng-Kai, et al. "Satellite-to-ground quantum key distribution." Nature 549.7670 (2017): 43.
[6] Ren, Ji-Gang, et al. "Ground-to-satellite quantum teleportation." Nature 549.7670 (2017): 70.

Comments

Popular posts from this blog

ไมโครชิปที่ความละเอียด 7nm กับอนาคตของ processor เมื่อมาถึงจุดสุดท้ายของ Moore's law

ชิป A12 bionic ที่มีความละเอียดขนาด 7nm (https://www.cnet.com/news/iphone-xs-a12-bionic-chip-is-industry-first-7nm-cpu/) ถูกพูดถึงพร้อมกับการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่เมื่อวันพุธ(12 ก.ย. 61)ที่ผ่านมานี้ ในเชิงของการใช้งานนั้นผู้ใช้อาจจะไม่รู้สึกตื่นเต้นกับฟังก์ชั่นของโปรดักส์ที่เปิดตัวซักเท่าไหร่ แต่ในทางเทคนิคแล้วเจ้าตัวชิปดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีทีทันสมัยที่สุดในตอนนี้สำหรับ smartphone และอาจถือได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของเทคโนโลยี processor หรือไมโครชิปเพื่อก้าวไปสู้รูปแบบชิปและการประมวลผลรูปแบบใหม่ๆ ก่อนอื่นบทความนี้จะมาขยายความให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความหมายของขนาด 7nm ในตัวชิปก่อน แล้วเราจะมาตามรอยการพัฒนาของไมโครชิปตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาด้วย Moore’s law และสุดท้ายเราจะมาคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยี processor จะก้าวไปทางไหนต่อไปเมื่อขณะนี้เราอยู่ที่จุดสุดท้ายของ Moore’s law สิ่งแรกที่เราต้องรู้สำหรับตัว processor นั้นก็คือองค์ประกอบพื้นฐาน processor นั้นประกอบไปด้วย transistor (ทรานซิสเตอร์)ที่ทำหน้าที่เป็นสวิซเปิดปิดวงจร และด้วยการเปิดปิดนี้นำไปสู้การประมวลผลแบบดิจิตอลในระ...

โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual power plant) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของพลังงานทดแทน

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2018 ที่ผ่านมา Tesla นำโดยนาย Elon Musk ผู้มีวัสัยทัศน์กว้างไกลทางด้านเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ดีของมนุษยชาติได้ประกาศติดตั้งแผง Solar cell พร้อมทั้งแบตเตอรี่ให้แก่ 1,100 ครัวเรือน ในพื้นที่รัฐทางตอนใต้ของออสเตรเลีย การติดตั้งนี้จะขยายไปกว่า 25,000 ครัวเรือน ภายในปี 2019 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการโรงไฟฟ้าเสมือน(Virtual power plant) [1] โดยที่โรงไฟฟ้าเสมือนนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าจากการเผาไหม้ก็าซธรรมชาติและถ่านหินในพื้นที่ดังกล่าว โดยทางการประเทศออสเตรเลียกล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถสนับสนุนพลังงานได้สูงถึง 20% ต่อการใช้งานในแต่ละวัน หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าเสมือนคือการรวบรวมการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ จากทั้งพลังงานฟอซซิลและพลังงานทดแทนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้งาน [2,3]  นอกจากแหล่งกำเนิดพลังงานที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโรงไฟฟ้าเสมือน คือ หน่วยจัดเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ และเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคต่างๆหร...

สมดุลอุปสงค์อุปทาน Solar cell ตามแบบจำลอง “กราฟเป็ด (Duck chart)”

จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมด้านพลังงานทดแทนเช่น พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกจากการผลิตไฟฟ้าด้วยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน อีกทั้งการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมปารีส [1] ของนานาประเทศที่มีจุดประสงค์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อลดอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิของโลกก่อนยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar cell มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนอื่นๆ [2,3] ส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาอุปกรณ์แผง Solar cell ที่ถูกลงอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา หรือการปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานของภาครัฐในประเทศต่างๆ การติดตั้งแผง Solar cell จึงเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก หนึ่งในตัวอย่างการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ที่เห็นได้ชัดเจนและมีการเก็บข้อมูลการใช้งานอย่างเป็นระบบคือที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยปีที่ผ่านมาการผลิตไฟฟ้าจาก Solar cell ในรัฐนี้ได้เพิ่มสูงข...